ระเบียบของโรงเรียน

ระเบียบโรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ)

 

ตามความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ฉะนั้น ทางโรงเรียนจึงได้กำหนดระเบียบสถานศึกษา ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียน โรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายด้วย โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

หมวดที่ 1 วินัยนักเรียนที่พึงปฏิบัติ

1.      นักเรียนต้องมีเครื่องแต่งกาย เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องใช้ต่างๆ ตามที่โรงเรียนกำหนด

2.      นักเรียนแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักเรียนของโรงเรียนตั้งแต่ออกจากบ้านมาโรงเรียนจนกลับบ้าน

3.      นักเรียนมาถึงโรงเรียนต้องถือว่าอยู่ในความควบคุมดูแลของครู

4.      นักเรียนจะออกนอกบริเวณโรงเรียนต้องได้รับอนุญาตจากครูประจำชั้น ครูประจำรายวิชา ครูเวรประจำวัน/ฝ่ายปกครอง

5.      ที่มาโรงเรียนสายต้องมารายงานตัวต่อครู และขอรับบัตรอนุญาตเข้าชั้นเรียนต่อฝ่ายปกครอง และครูประจำวิชาทุกครั้ง

6.      นักเรียนต้องอยู่ในโอวาทของครู-อาจารย์ ทุกคน ทั้งให้ความเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนไม่แสดงอาการแข็งกระด้าง

7.      นักเรียนต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน เช่นไม่เที่ยวเตร่ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า

ไม่เล่นการพนัน ไม่ลักทรัพย์ และทำชู้สาวกับบุคคลภายในและ
ภายนอกโรงเรียน

8.      นักเรียนต้องแสดงกิริยาสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป รักษาความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่กระทำการใดๆ

อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน

9.      นักเรียนต้องเข้าร่วมและช่วยเหลือกิจกรรมโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า

10. นักเรียนต้องมีวัฒนธรรมในการรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียนมิให้เกิดการชำรุด

 

หมวดที่ 2  การปฏิบัติตนของนักเรียน

1.      นักเรียนควรพึงรู้ตนเสมอว่าเป็นนักเรียนต้องปฏิบัติตนให้เป็นระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด

2.      นักเรียนพึงปฏิบัติตนให้เป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตนให้เป็นที่รักของ บิดา-มารดา และ ครู-อาจารย์

3.      นักเรียนของโรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) ทุกคน พึงมีความรักใคร่ สามัคคี กลมเกลียว ในระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและนับถือรุ่นพี่ รุ่นน้องผู้ใดทำให้เกิดความแตกแยกสามัคคีบ่อนทำลายความสามัคคีและความมั่นคงของหมู่คณะ คือบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาของโรงเรียนตลาดคลอง ๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ)

4.      นักเรียนของโรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) ทุกคน ต้องมีบัตรประจำตัวนักเรียนที่ออกโดยฝ่ายปกครองของโรงเรียน และ ต้องนำติดตัวทุกครั้งที่มาโรงเรียน

หมวดที่ 4 การปฏิบัติตนในห้องเรียน

1.      นักเรียนต้องอยู่ภายในห้องเรียนด้วยความเรียบร้อย ไม่ส่งเสียงอึกทึกหรือเล่นกัน ไม่ลุกจากที่นั่งก่อนได้รับอนุญาตจากครูผู้สอน

2.      นักเรียนทุกคนมีหน้าที่ทำความสะอาดห้องเรียนรักษาความสะอาด รักษาทรัพย์สินภายในห้องเรียน ไม่ทุบทำลายและจัดห้องเรียนให้เรียบร้อยน่าอยู่อาศัย

3.      นักเรียนไม่นำวิชาอื่นขึ้นมาทำขณะที่ครูกำลังสอนอยู่

4.      ไม่นำอาภรณ์ของมีค่า อาวุธหรือสิ่งอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนเข้ามาไว้ภายในห้องเรียน

5.      ขณะที่ครูกำลังสอน ถ้าออกนอกห้องเรียนต้องขออนุญาตก่อน

6.      การเปลี่ยนห้องเรียน ต้องเดินไปเป็นแถว สงบและเรียบร้อย

7.      ไม่นำอาหาร เครื่องดื่ม เข้าไปรับประทานในห้องเรียน

8.      เมื่อครูประจำวิชาไม่เข้าสอนเกิน 5 นาที ให้หัวหน้าชั้นหรือตัวตัวไปรายงารนครูหัวหน้าหมวดวิชานั้น เพื่อจัดครูเข้าสอนแทน

9.      นักเรียนต้องถอดรองเท้าวางไว้ ณ ที่เก็บที่จัดไว้ให้ ไม่สวมหมวก หรือปลดกระดุมเสื้อ

10. ไม่นำชอล์ก หรือ อุปกรณ์ สิ่งของ ภายในห้องเรียน เช่น แปรงลบกระดาน ไม้กวาด มาขว้างปาเล่น หรือขีดเขียนโต๊ะ ฝาผนังห้อง โดยเด็ดขาด

11. เมื่อเกิดการวิวาทกันในห้องเรียน หรือระหว่างห้องเรียน อย่าตัดสินกันเอง ควรรายงานให้ครูประจำชั้น หรือครูหัวหน้าสายชั้น หรือ ครูเวรประจำวันทราบ

หมวดที่ 5 การออกนอกห้องเรียนขณะทำการเรียนการสอน

1.      ในระหว่างที่มีชั่วโมงเรียน นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียน จะไปอยู่ตามสนามกีฬา โรงอาหารหรือห้องสมุดไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากครู-อาจารย์

2.      ถ้าจำเป็นต้องออกจากห้องเรียนต้องขออนุญาตจากครูประจำวิชาในชั่วโมงนั้น

3.      ในกรณีที่ครูไม่อยู่หรือยังไม่เข้าสอน นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนด้วยความสงบ ไม่ส่งเสียงหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนห้องข้างเคียง ถ้าจำเป็นต้องออกนอกห้องต้องแจ้งให้หัวหน้าห้องทราบ

4.      การเข้าห้องเรียนขณะที่ครูทำการสอนอยู่ จะต้องขออนุญาตเป็นการเข้าเรียน

หมวดที่ 6 การใช้ยานพาหนะ

1.      นักเรียนจะนำรถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ต้องทำใบขับขี้ให้เรียบร้อย และต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายปกครองเสียก่อน

2.      นักเรียนต้องนำรถจอดที่โรงเก็บรถอย่างเป็นระเบียบ

3.      ถ้านักเรียนจะกลับบ้านหรือออกนอกบริเวณโรงเรียนก่อนโรงเรียนเลิก จะต้องขออนุญาตครูเวรประจำวันหรือ ครูฝ่ายปกครองก่อนนำรถออกจากโรงเก็บรถ (ถ้านักเรียนคนใดนำรถออกจากโรงเรียนมิได้รับอนุญาต จะถือว่าส่อไปในทางลักขโมย)
  - ให้นักเรียนชะลอความเร็วของรถ โค้งคำนับและกล่าวสวัสดี
  - ถ้านักเรียนพบครูยืนอยู่หน้าประตูโรงเรียนตอนเช้าเลิกเรียน ให้นักเรียนยืนคำนับ นักเรียนหญิงถ้ามือว่างพอที่จะไหว้ก็ให้ไหว้ ถ้าขี่จักรยานให้ชะลอความเร็วแล้วโค้งคำนับ
  - ถ้าผู้ปกครองขับรถใดๆ มาส่ง ให้นักเรียนลงที่หน้าประตูทุกคนและทำความเคารพตามวรรคแรก

 

หมวดที่ 7  การปฏิบัติตามกฎจราจร

1.      นักเรียนต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย ที่ครูเวร เจ้าหน้าที่ หรือตำรวจจราจร บริการอยู่

2.      นักเรียนต้องขึ้นรถโดยสารที่หน้าโรงเรียน หรือ บริเวณที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ให้

3.      เมื่อขึ้นรถแล้วต้องหาที่นั่งภายในรถให้เรียบร้อย อย่ายืนขวางประตูขึ้นลง ห้อยโหนตามบันไดและไม่ขึ้นนั่งบนหลังคารถ

4.      นักเรียนต้องนั่งภายในรถให้เรียบร้อย ไม่เดินไปมา บนรถ

5.      เวลาจะขึ้นหรือลงรถ ให้รถจอดสนิทก่อนไม่เกาะหรือกระโดดลง

6.      เมื่อลงรถ ต้องรอให้รถรับ-ส่ง เคลื่อนออกจากจุดจอด ไม่ข้ามถนนทันทีจากด้านหลังรถ เพราะอาจทำให้รถที่สวนมามองไม่เห็น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้

7.      ห้ามนักเรียนโบกรถอื่น ที่ไม่ใช่รถรับ-ส่ง ประจำทางของตนเอง กลับบ้าน

 

หมวดที่ 8 การขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนหรือกลับบ้าน

1.      ผู้ปกครองต้องมาขอลาด้วยตนเอง หรือเป็นลายลักษณ์อักษร การลาทางโทรศัพท์จะไม่อนุญาตเพราะตรวจสอบไม่ได้

2.      นักเรียนแจ้งป่วยกะทันหัน ให้ผู้ปกครองโทรแจ้งครูประจำชั้น

3.      เขียนหนังสืออนุญาตที่ฝ่ายปกครองยื่นต่อครูประจำชั้น ครูประจำวิชา ครูเวร

4.      ให้แจ้งต่อฝ่ายปกครอง ครูประจำชั้น ครูประจำวิชา ครูเวร หรือ ครูธุรการ เมื่อกลับจากธุรกิจแล้ว

5.      ในกรณีที่โรงเรียนมีความจำเป็นส่งนักเรียนกลับบ้าน รับแบบส่งนักเรียนกลับบ้านจากฝ่ายปกครองรับทราบแล้วนำมาคืนฝ่ายปกครอง

 

หมวดที่ 9 การรับประทานอาหารกลางวัน

1.      ไม่รับประทานอาหารก่อนเวลาพักหรือหลังพักเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนด

2.      ไม่นำอาหารไปรับประทานในห้องเรียนหรือในห้องประชุม

3.      ถ้าจำเป็นต้องรับประทานอาหารก่อนเวลาพักเที่ยง ให้ขออนุญาตจากครูเวรก่อน

4.      ไม่ทิ้งภาชนะที่ใส่อาหารทุกชนิด ไว้นอกโรงอาหาร

5.      ต้องรักษามารยาทในการรับประทานอาหารไม่นั่งยอง ๆ บนเก้าอี้หรือส่งเสียงดัง หรือรับประทานอาหารอย่างมูมมาม

6.      ไม่ทิ้งเศษอาหาร หรือ เศษขยะต่างๆ ลงบนพื้น

 

หมวดที่ 10 การแสดงความเคารพ

การแสดงความเคารพเป็นการแสดงออกของผู้ที่ได้รับการศึกษา อบรม โรงเรียนจึงกำหนดระเบียบการเคารพขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อปลูกฝังนิสัยให้นักเรียนเป็นคนสุภาพอ่อนน้อม รู้จักเคารพครู-อาจารย์ และผู้ใหญ่ ดังนี้

1.      การแสดงความเคารพภายในโรงเรียน
        1.1 นักเรียนต้องถือว่าครูภายในโรงเรียนเป็นครู-อาจารย์ ของนักเรียนทุกคนต้องให้ความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง
        1.2 เมื่อนักเรียนนั่งอยู่กับที่ ถ้ามีครูเดินผ่านมาระยะใกล้พอควร ให้นักเรียนชายยืนตรงหรือยกมือไหว้ นักเรียนหญิงยืนตรงแล้วไหว้
    1.3 เมื่อนักเรียนเดินสวนกับครู-อาจารย์ ให้นักเรียนหยุดเลี่ยงหันหน้าทำความเคารพเช่นเดียวกับข้อ 1.2
        1.4 เมื่อนักเรียนเดินตามหลังครูไม่ควรแซงขึ้นหน้า ถ้าจำเป็นจริง ๆ นักเรียนต้องกล่าวคำว่า "ขอโทษ" ก่อน เช่น พูดคำว่า "ขอโทษครับ (ค่ะ)" และถ้า ครู-อาจารย์ เดินตามหลังนักเรียนมาใกล้ ๆ ควรหยุดให้ครูเดินผ่านไปก่อน
        1.5 ลูกเสือ - เนตรนารี ยุวกาชาด ที่อยู่ในเครื่องแบบ ให้ทำความเคารพตามระเบียบของเครื่องแบบนั้น ๆ ทุกกรณี
        1.6 เมื่อครูเข้าห้องเรียนหรือออกจากห้องเรียน ให้หัวหน้ากล่าวว่า "นักเรียนเคารพ" โดยนักเรียนทั้งหมดยืนตรงหรือนักเรียนชายยืนตรง นั่งเรียนหญิงนั่งกราบ และ กล่าวพร้อมกันว่า "สวัสดีครับ (ค่ะ)" หรือ "ขอบคุณครับ (ค่ะ)"
        1.7 นักเรียนพูดกับครูต้องยืนตรงในลักษณะสำรวม เมื่อพูดเสร็จแล้วแสดงความเคารพก่อนจากไป
    1.8 เมื่อนักเรียนเข้าพบครูขณะที่ครูนั่งอยู่ที่โต๊ะ ให้ยืนห่างโต๊ะประมาณ 1 ก้าว นักเรียน่ชายโค้งคำนับ นักเรียนหญิงไหว้แล้วนั่งคุกเข่าลง ในกรณีที่เข้าพบมาก ๆ ให้เข้าแถวอย่ารุมล้อมโต๊ะครู
        1.9 เมื่อมีผู้ใหญ่มาเยี่ยมที่ห้องเรียน ให้นักเรียนฟังครู-อาจารย์ ที่สอนอยู่สั่งการถ้านักเรียนพบในบริเวณโรงเรียน ให้ทำความเคารพเช่นเดียวกับครู-อาจารย์

2.      แสดงความเคารพภายนอกโรงเรียน
        เมื่อพบครู-อาจารย์ ภายนอกโรงเรียน ให้นักเรียนทุกคนทำความเคารพโดยการ "ไหว้" และกล่าวคำว่า "สวัสดี" ถ้านักเรียนสวนกับครูที่ขี่จักรยาน หรือรถจักรยานยนต์

 

หมวดที่ 11  การลาป่วย – ลากิจ

1.      ผู้ปกครองต้องแจ้งลาต่อครูประจำชั้นด้ายตัวเอง

2.      เขียนใบลาโดยมีคำรับรองของผู้ปกครอง ถ้าลากิจธุระต้องส่งล่วงหน้า 1 วัน คำรับรองต้องมีลายเซ็นของผู้ปกครองคนเดียวกับใบมอบตัว หรือผู้ปกครองคนที่ 2 (หากปลอมลายเซ็นผู้ปกครองถือเป็นโทษ

สถานหนัก)

3.      ถ้านักเรียนหยุดเรียนติดต่อกันเกิน 3 วัน โดยไม่แจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ โรงเรียนจะติดต่อกับผู้ปกครอง หากยังไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้  โรงเรียนจะดำเดินการ ดังนี้
        ก.  ครูฝ่ายปกครอง ครูประจำชั้น จะติดตามยังที่พักของนักเรียน

ข.    เชิญผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียน

ค.    หากผู้ปกครองไม่มาพบภายใน 7 วัน ฝ่ายปกครองจะเสนอผู้อำนวยการเพื่อสั่งพักการเรียนหรือให้คัดชื่อออก

4.      เมื่อนักเรียนส่งใบลาต่อครูประจำชั้นให้ครูประจำชั้นแนบใบลาไว้ในใบเซ็นต์ชื่อของครูประจำวิชา ที่หัวหน้างานบริหารงานวิชาการกำหนดไว้ทุกใบ

 

หมวดที่ 12  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน

1.      นักเรียนต้องรักษาความสะอาดของห้องเรียน โดยแบ่งหน้าที่เป็นเวรรักษาความสะอาด

2.      นักเรียนต้องช่วยกันรักษาความสะอาดของบริเวณโรงเรียน ไม่ทิ้งเศษกระดาษ หรือขีดเขียนตามโต๊ะอาหาร

3.      นักเรียนต้องไม่เคลื่อนย้ายโต๊ะ หรือม้านั่งออกนอกห้องเรียนก่อนได้รับอนุญาต

4.      นักเรียนไม่ขีดเขียนฝาผนัง ม้านั่ง ดึงหรือแกะทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน เช่น ปลั๊กไฟ สวิตซ์ ไฟฟ้า สายไฟฟ้า กระจกหน้าต่าง ประตู และอื่น

 

 

 

 

 

ระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน

ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6  แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วางระเบียบไว้

โรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) ได้กำหนดให้มีระเบียบของสถานศึกษา ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) และระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการใช้ระเบียบดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน ดังนี้

 

เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา

นักเรียนชาย

1.    เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้น

2.   เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหมสีน้ำเงิน

หรือ สีกรมท่า 

3.   กางเกง ผ้าสีน้ำเงิน หรือ สีกรมท่า ขาสั้น

4.   รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นปลายเท้า ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า

5.   ถุงเท้าสั้น  สีขาว

นักเรียนหญิง

1.    เสื้อ  ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต หรือคอปกกลม แขนสั้น

2.   เครื่องหมาย ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม สีน้ำเงิน หรือ สีกรมท่า 

3.   กระโปรง ผ้าสีน้ำเงิน หรือ สีกรมท่า แบบจีบรูดรอบตัว หรือยาวเพียงใต้เข่า แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า

4.   รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มหลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า

5.   ถุงเท้าสั้น  สีขาว

 

 เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา

นักเรียนชาย

1.   เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น

2.   เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง

3.   กางเกง ผ้าสีกากี หรือสีน้ำตาล ขาสั้น

4.   รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นปลายเท้า ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า

5.   ถุงเท้าสั้น  สีน้ำตาล

นักเรียนหญิง

1.   เสื้อ  ผ้าสีขาว แบบคอบัว หรือคอปกกลาสี ผูกด้วยโบว์  สีดำหรือสีกรมท่า แขนสั้น

2.   เครื่องหมาย  ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม สีน้ำเงินหรือสีกรมท่า

3.   กระโปรง  สีน้ำเงิน หรือ สีกรมท่า แบบจีบรูดรอบตัว  หรือยาวเพียงใต้เข่า  แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบ  ข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า

4.   รองเท้า  หนังสีดำ  แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า

5.   ถุงเท้าสั้น  สีขาว

 

ระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน
        ทรงผมนักเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบโรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) ว่าด้วยทรงผมนักเรียน

ระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน

ตามที่โรงเรียนได้กำหนดให้มีระเบียบของสถานศึกษาว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนตลาดคลอง๑๖ (เอื้อสุนทรวัฒนาอุทิศ) ไปแล้วนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน มิให้นักเรียนละเมิดการปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานศึกษา อีกทั้งเป็นการลงโทษนักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติตนไม่เป็นไปตามระเบียบของสถานศึกษาที่กำหนด จึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน โดยสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา 2548 ประกอบด้วย 4 สถาน ดังนี้

1. ความผิดสถานเบา ได้แก่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ที่ได้แสดงถึงอุปนิสัยความประพฤติ ดังนี้
      1.1 แต่งกายผิดระเบียบ
      1.2 กริยาวาจาหยาบคาย
      1.3 หนีเรียน ไม่เข้าห้องเรียน
      1.4 ไม่รักษาความสะอาดของห้องเรียน และโรงเรียน
      1.5 มาโรงเรียนสายโดยไม่มีเหตุผล
      1.6 ปีนรั้วเข้า ออกโรงเรียน
      1.7 ส่งเสียงอึกทึกบนห้องเรียนและนอกห้องเรียน
      1.8 เล่นกีฬาบนห้องเรียน
      1.9 ไม่เข้าแถวเคารพธงชาติ
      1.10 นำกระเป๋าผิดระเบียบมาโรงเรียนหรือไม่นำกระเป๋ามาโรงเรียน 

                ฯลฯ
       บทลงโทษ พบครูที่ปรึกษา เพื่ออบรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้ง และตัดคะแนน 5 คะแนน

 

2. ความผิดขั้นปานกลาง ได้แก่ ความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม และทำให้โรงเรียนเสียชื่อเสียงของโรงเรียนหมู่คณะตามกรณี ดังนี้
      2.1 ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต
      2.2 เที่ยวกลางคืนเป็นนิจ
      2.3 ประพฤติตนในทางชู้สาว
      2.4 ทะเลาะวิวาท
      2.5 เล่นการพนัน
      2.6 สูบบุหรี่ หรือมีบุหรี่ในครอบครอง
      2.7 ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรหรือผิดระเบียบการใช้รถจักรยานยนต์
      2.8 ไม่ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม
      2.9 โกหกหรือให้ความเป็นเท็จต่อครู-อาจารย์
      2.10 ขาดเรียนเกิน 3 วัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
      2.11 ความผิดอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกับความผิดข้างต้น
                ฯลฯ


บทลงโทษ พบครูหัวหน้าระดับชั้นเรียน เพื่ออบรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้ง และตัดคะแนน

ครั้งละ 10 คะแนน

 

3. ความผิดสถานหนัก ได้แก่ ความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แก่ส่วนรวม และทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนทั้งหมู่คณะ

     3.1 นำหนังสือลามกมาโรงเรียน
      3.2 เป็นนักเลงการพนัน
      3.3 ทำร้ายผู้อื่น
      3.4 เป็นนักเลงอันธพาล
      3.5 เสพสิ่งเสพติด ดื่มเครื่องดอง ของมึนเมา
      3.6 ทำลายทรัพย์สินของส่วนรวมโดยเจตนา
  3.7 แสดงกริยาลบหลู่ดูหมิ่นครู-อาจารย์
      3.8 หรือความผิดอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกับความผิดข้างต้น

ฯลฯ

บทลงโทษ พบครูฝ่ายปกครอง เพื่ออบรมแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้ง และ ตัดคะแนน 15 คะแนน


4. ความผิดขั้นร้ายแรง ได้แก่ความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แก่ส่วนรวม และทำให้เสียชื่อเสียงของโรงเรียนร้ายแรง ซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
      4.1 ลักทรัพย์
      4.2 มียาเสพติดไว้ในครอบครองหรือเพื่อจำหน่าย
      4.3 พกพาอาวุธมาโรงเรียน
      4.4 มีพฤติกรรมชู้สาวขั้นเสียหาย
      4.5 ทะเลาะวิวาทสถานหนักในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน
      4.6 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือกระทำการใด ๆ ที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงเรียนอย่างมาก
      4.7 ความผิดอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกับความผิดข้างต้น
                ฯลฯ

บทลงโทษ พบรองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง เพื่อทำทัณฑ์บนแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรม บำเพ็ญประโยชน์

1 ครั้งและตัดคะแนน 20 คะแนน